![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhsdqrdIJAgZ__WXBPxJ1VM6rbzeTRTVuat6GvRC8vx2GNRm-uLbXSyn2uJF3Oq3NZUQiERZDFLFocLLSdN0C0r_R0qLFM0mYahMe-xk5Zy0zMVz__oFyvIvhPRBCpQCEE4lbEEKUh3FT8C/s1600/20140916_100234.jpg) |
Phakapan - หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhS3hFvvCqulpeSFpdJEq0xsL4M3mZxJWoHPL80R3qVI427EydEjkzCyQp4QD7AfJKXjHSQlnf0BASV7TRdS9n4prAUdo872W1D9c6dnvdq6Qz_ciy3jCBvsDQ-ILDw52iiJdG1Nu2GO30m/s1600/20140916_094711.jpg) |
Phakapan - หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ |
พระพุทธรูปองค์นี้ได้ก่อสร้างมาแต่ดึกดำบรรพ์มีพระรูปงดงามน่าเลื่อมใส สร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชครองเมืองเวียงจันทร์ พระสงฆ์ในวัดศรีชมภูองค์ตื้อได้ประชุมปรึกษาหารือกัน ลงมติจะหล่อพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นในบ้านน้ำโมง (เดิมเรียกว่าบ้านน้ำโหม่ง) เพื่อเป็นที่เคารพสักการะแก่อนุชนรุ่นหลังต่อ ๆ มา
เมื่อตกลงกันแล้วจึงได้ชักชวนบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เพื่อเรี่ยไรทองเหลืองบ้าง ทองแดงบ้าง ตามแต่ผู้ที่มีจิตศรัทธาจากท้องที่อำเภอและจังหวัดใกล้เคียง ได้ทองหนักตื้อหนึ่ง (มาตราโบราณภาคอีสานถือว่า 100 ชั่งเป็นหมื่น 10 หมื่นเป็นแสน 10 แสนเป็นล้าน 10 ล้านเป็นโกฏิ 10 โกฏิเป็นหนึ่งกือ 10 กือเป็นหนึ่งตื้อ) พระสงฆ์และชาวบ้านจึงพร้อมกันหล่อ เป็นส่วน ๆ ในวันสุดท้ายเป็นวันหล่อตอนพระเกศ ในตอนเช้าได้ยกเบ้าเทแล้วแต่ไม่ติด เมื่อเอาเบ้าเข้าเตาใหม่ ทองยังไม่ละลายดีก็พอดีเป็นเวลาจวนพระจะฉันเพล พระทั้งหมดจึงทิ้งเบ้าเข้าเตาหรือทิ้งเบ้าไว้ในเตาแล้วก็ขึ้นไปฉันเพลบนกุฏิฉันเพลเสร็จแล้วลงมาหมายจะเทเบ้าที่ค้างไว้กลับปรากฏเป็นว่ามีผู้เทติด และตอนพระเกศสวยงามกว่าที่ตอนจะเป็น เป็นอัศจรรย์สืบถามได้ความว่า (มีชายผู้หนึ่งนุ่งห่มผ้าขาวมายกเบ้านั้นเทจนสำเร็จ) แต่ด้วยเหตุที่เบ้านั้นร้อนเมื่อเทเสร็จแล้ว ชายผู้นั้นจึงวิ่งไปทางเหนือบ้านน้ำโมงมีผู้เห็นยืนโลเลอยู่ริมหนองน้ำแห่งหนึ่งแล้วหายไป (หนองน้ำนั้นภายหลังชาวบ้านเรียกว่าหนองโลเลมาจนถึงปัจจุบันนี้ และชายผู้นั้นก็เข้าใจกันว่าเป็นเทวดามาช่วยสร้าง) เมื่อได้นำพระพุทธรูปที่หล่อแล้วมาประดิษฐานไว้ในวัด มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่แห่งเมืองเวียงจันทร์มาเที่ยวบ้านน้ำโมงสองท่านชื่อว่า ท่านหมื่นจันทร์ กับ ท่านหมื่นราม ทั้งสองท่านนี้ได้เห็นพระเจ้าองค์ตื้อก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสที่จะช่วยเหลือ จึงได้ช่วยกันก่อฐาน และทำราวเป็นการส่งเสริมศรัทธาของผู้สร้าง
ครั้นเมื่อขุนนางทั้งสองได้กลับถึงเมืองเวียงจันทร์แล้ว ได้กราบทูลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งครองเมืองเวียงจันทร์ในเวลานั้นพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้เสด็จมาทอดพระเนตรก็ทรงเกิดศรัทธาจึงได้สร้างวิหารประดิษฐานกับแบ่งปันเขตแดนให้เป็นเขตข้าทาสบริวารของพระเจ้าองค์ตื้อ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjshyOreMg77tjM-DufMnG8b0FvQd3AZHIOqgUHfadwizXEuvHnK0ijhM98vGFaY6DtFVfq6WDyvj-ctQqP2imPvizhYouBihNLVLC4Evowf1R0GAXAMpAUqLQ7qo25uNqXmCQPQ6NPS1rm/s1600/20140916_094645.jpg) |
Phakapan - หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi7pMi0uQsDZQO4BBUFLXcFE4D_BxJUmTSb1e1YnRjiWdln1WOgD5UB1V4wZKjuGenhA1KzxnLxZhviBCAc19wyhyphenhyphen-cthzB_7CTTaoRa7uIwY0QY4ha79CwjHjYjukPPkexxasdhCv0J2pH/s1600/20140916_100946.jpg) |
Phakapan - หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgp17xlBS-Z37JU7B3_zqUHP47hR1MEUd0J7A9dWtc9k5S2sd8Xiy8wqd_VwfmMghH44XmGD8SO_glR_8NtGzkeh4-pxqWUp7Xjvxhl8WcPZ2kiHFFO5wy8MvnYK6vxKSTVzBa863D2b_St/s1600/20140916_101003.jpg) |
Phakapan - หลวงพ่อพระเจ้าองค์ตื้อ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น