2557/09/08

ประเพณีบุญข้าวสาก

ประเพณีบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
       เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต ชาวบ้านจะทำข้าวสาก (ภาคกลางเรียกข้าวสารทหรือข้าวกระยาสารท) ไปถวายพระภิกษุสามเณร


 
 
 
        พิธีกรรม ประกอบด้วย
๑. วันเตรียมข้าวสาก วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ ข้าวสาก (ภาษากลางเรียกข้าวกระยาสารท) คือการเอาข้าวเม่าพอง คลุกกับข้าวตอกแตก แล้วใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่ว งา แล้วคลุกเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ทำทาน
๒. ในตอนเช้าของวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ชาวบ้านจะนำอาหารไปตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว หลังจากพระสงฆ์ฉันจังหันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์
๓. พอถึงตอนเพลจะเป็นพิธีแจกข้าวสาก ข้าวสากที่จะนำไปแจกนั้น จะห่อด้วยใบตองกล้วยกลัดหัวกลัดท้ายมีรูปคล้ายกลีบข้าวต้มแต่ไม่พับส้นตอง เย็บติดกันเป็นคู่ๆ ของที่ใส่ในห่อได้แก่ ข้าวต้ม ข้าวสาก ปลา เนื้อ หมาก พลู และบุหรี่ พิธีแจกก็เอาห้อยไว้ตามต้นไม้หรือตามรั้ว พอเสร็จหมดก็ตีกลองหรือโปงให้สัญญาณบอกเปรตมารับเอา หลังจากนั้นก็แย่งกันเก็บคืน มือใครยาวสาวได้สาวเอา ซึ่งตอนนี้เรียกว่า "แย่งเปรต" ภาษาอีสานเรียกว่า "ยาดข้าวสาก" เก็บมาแล้วเอาไปใส่ตามไร่นา ตามตาแฮก เพื่อให้ข้าวในนาอุดมสมบูรณ์


มีกล่าวถึงในนิราศเดือนของนายมีว่า 

เมื่อเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท
 
ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
กระยาสารท กล้วยไข่ใส่โตกพาน
 
พวกชาวบ้านถ้วนหน้าธารณะ

 

กระยาสารทเป็นสัญลักษณ์ของ ผลิตผลทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเป็นการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา ซึ่งเป็นการเก็บ พืชผลครั้งแรกอีกด้วย


 

 
 
http://www.prapayneethai.com
http://th.wikipedia.org/wiki/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น